โดยธรรมชาติของเด็ก เด็กต้องการความรักจากพ่อแม่มากที่สุด เด็กต้องการพื้นที่ปลอดภัย สิ่งที่เด็ก รู้สึกว่าเป็นพื้นที่ปลอดดภัยมากที่สุดคือคนที่เลี้ยงดูใกล้ชิด ส่วนใหญ่คนที่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุดคือพ่อแม่ เว้นแต่ว่าพ่อแม่แยกทางกัน หรืออาจะด้วยเหตุผลอื่น ๆ ที่ทำให้เด็กไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ตนเอง เราจะสังเกตได้ว่า เด็กจะดื้อ เอาแต่ใจ กับ พ่อแม่หรือคนที่เลี้ยงดู และจะเชื่อฟังครู ผู้ใหญ่รอบข้างมากกว่า พ่อแม่ตนเอง ก็เพราะว่าพ่อแม่ หรือคนที่เลี้ยงดูเด็กมาตั้งแต่เล็ก ๆ เป็นพื้นที่ปลอดภัย ทำให้เด็กสามารถแสดงพฤติกรรม ก้าวร้าว เอาแต่ใจ เป็นตัวของตัวเอง แต่ทั้งหมดของพฤติกรรมนี้ นั้นเกิดมาจากความรู้สึกไว้ใจ และปลอดภัย เด็กจะสามารถรับรู้ถึงความรักของคนที่เลี้ยงดู โดยไม่จำเป็นที่ต้องบอกว่า ‘’ รัก ’’
หากพ่อแม่แยกทางจะกันจะมีวิธิการดูแล อบรมเด็กยังไง ให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพในอนาคต จากประสบการณ์ที่ได้เห็นและคุ้นเคยกับเด็กที่พ่อแม่แยกทางกัน ภายในใจของเด็กจะมีคำถามอยู่แล้วว่าทำไมพ่อแม่ถึงแยกทางกัน ผู้เลี้ยงดูไม่ควรโกหกเด็กและควรบอกเด็กไปตามตรง ให้เด็กเข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริง
ผู้เลี้ยงดูไม่ควรสร้างปมให้เด็ก เมื่อเด็กทำพฤติกรรมไม่น่ารัก ผู้เลี้ยงดูไม่ควรกล่าวโทษว่านิสัยเหมือน พ่อหรือแม่ เพราะจะเป็นการสร้างปมให้เด็กรู้สึกคับแค้นใจ ผู้ดูแลควรใจเย็นและค่อยๆสอน พฤติกรรมของเด็กทั้งหมดล้วนมีเหตุผล สามารถแก้ได้หากมีการสอนที่ถูกวิธี เด็กทุกคนมีจิตใจ การอบรมสั่งสอนเด็กตั้งแต่ยังเล็ก ค่อนข้างที่จะสอนง่าย เพราะวัยเด็ก เป็นวัยที่กำลังจดจำ เชื่อฟังและมีพฤติกรรมที่เลียนแบบคนรอบข้าง

การกอดเป็นวิธีหนึ่ง ที่ทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย และรู้สึกได้ถึงความรักจากผู้เลี้ยงดู นักจิตวิทยากล่าวไว้ว่าการกอดควรกอดเป็นเวลา 5-10 วินาที เพราะจะทำให้ผู้ที่ถูกกอด รู้สึกปลอดภัย ลดอาการวิตกกังวล ลดความเครียดหรืออาการเจ็บปวดต่าง ๆได้อย่างน่ามหัศจรรย์ การพูดคุยกันในเวลาทานอาหารเย็นร่วมกัน แล้วทำไมไม่คุยกันตอนอาหารเช้า? เพราะช่วงเช้าเป็นช่วงของการเริ่มต้นในการทำงาน หรือเด็กไปโรงเรียน อาจจะไม่เหมาะหากพูดคุยเรื่องราว ปัญหาต่างๆ เพราะฉะนั้นเวลาที่เหมาะที่สุดคือเวลาช่วงเย็น ทุกคนต่างเสร็จภารกิจในชีวิตประจำวัน จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดในการพูดคุยกัน ผู้เลี้ยงดูควรถามคำถามปลายเปิด ที่ไม่ใช่คำถามที่มีคำตอบแค่ ใช่ หรือ ไม่ใช่ อาจจะถามว่า วันนี้ที่โรงเรียนมีกิจกรรมอะไร? หนูชอบทำอะไรที่สุด? ครูมอบหมายหน้าที่อะไรให้ทำ เป็นต้น และควรฟังเด็กให้จบ มากกว่าพูดสั่งสอน การฟังจะทำให้เด็กรู้สึกสบายใจ จากนั้นเขาจะเล่าเรื่องราว ปัญหาต่าง ๆ ที่พบเจอ โดยที่ไม่จำเป็นต้องถาม อาจจะพูดสั่งสอนเพื่อเป็นการปิดท้ายบทสนทนา ไม่ควรตำหนิเด็ก เพราะในครั้งต่อไปจะทำให้เด็กไม่กล้าเล่า เกิดอาการกลัวที่จะโดยตำหนิและไม่กล้าจะบอกในเรื่องราวต่าง ๆ
การสอนเด็กพ่อแม่แยกทางกันไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ผู้เลี้ยงดู ต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็ก ไม่ยึดความคิดตัวเองเป็นใหญ่ ใช้ความเมตตาและหวังดีกับเด็กเพียงเท่านี้ เด็กที่เราอบรมสั่งสอนก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพในอนาคต.
