ยางพาราเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ส่งออกนำเงินเข้าสู่ประเทศ โดยมีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับสอง รองจากข้าวที่มีการส่งออกเป็นอันดับหนึ่งมายาวนาน ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกยางพารากันมากขึ้น
ยางพารานั้น มีระยะเวลาช่วงแรกในการปลูกก่อนที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานถึง 3 ปี จึงทำให้เกษตรกรเสียพื้นที่เปล่าไปใน 3 ปีแรก จึงทำให้เกิดแนวคิดการปลูกพืชแซมยาง และการปลูกพืชร่วมยาง เพื่อเพิ่มมูลค่าของพื้นที่ที่ปลูกยางพาราให้มากขึ้น
การปลูกพืชแซมยาง คือการปลูกพืชแซมในสวนยางในช่วงอายุ 3 ปีแรก ซึ่งในช่วงนี้ยางพารายังมีขนาดต้นที่ไม่โต และยังไม่ให้ผลผลิต โดยการปลูกพืชแซมยางนั้นจะมีพืชอยู่ 3 กลุ่มดังนี้
นอกจากที่กล่าวมานั้น ยังมีพืชมันสำปะหลัง อ้อยคั้นน้ำ ที่สามารถนำมาปลูกได้ แต่ก็ควรระวังในเรื่องของพืชที่ปลูกจะไปแย่งอาหารของยางพารา ทำให้ยางพาราโตช้ากว่าที่ควร
นอกจากการปลูกพืชแซมยางแล้ว ยังมีการปลูกพืชร่วมยาง ซึ่งจะปลูกหลังยางพาราอายุครบ 3 ปีแล้ว หรือเป็นช่วงให้ผลผลิตนั่นเอง โดยพืชที่สามารถนำมาปลูกร่วมยางได้นั้น จะต้องเป็นพืชที่อยู่ใต้ร่มเงาของยางได้ เพราะเมื่อยางพาราอายุมากขึ้น ก็จะมีขนาดต้นที่ใหญ่ขึ้นนั่นเอง ตัวอย่างเช่น ขิงแดง ข่ากระเจียว บอนสี ฟ้าทะลายโจร หรือไม้ดอกไม้ประดับที่ชอบอยู่ในร่มเงา โดยในหลายๆที่ในสวนยางก็เริ่มมีการดัดแปลงมาปลูกกาแฟ หรือการทำแปลงเห็ดในสวนยางก็ทำได้เช่นกัน
จากการปลูกพืชแซมยางและปลูกพืชร่วมยางแล้ว การเลี้ยงสัตว์อย่างเช่น การเลี้ยงผึ้งก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะสร้างรายได้ จากสวนยาง โดยเกษตรกรในภาคใต้ จะนิยมเลี้ยงผึ้งในสวนยาง สวนมะพร้าว เพื่อนำน้ำผึ้งออกมาขาย สร้างรายได้อีกช่องทางหนึ่ง
และทั้งหมดนี้ก็คือการปลูกพืชสวนผสมในสวนยางช่วยเพิ่มรายได้อีกช่องทาง ซึ่งในปัจจุบัน เกษตรกรหันมาปลูกพืชในสวนยางกันมากขึ้น เพราะได้พิสูจน์แล้วว่าทฤษฎีนี้สามารถปฏิบัติได้จริง และได้ผลตอบแทนมากขึ้นแทนการรอผลผลิตจากยางพาราเพียงช่องทางเดียว
ที่มาขอข้อมูล กรมวิชาการเกษตร
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
Recover your password.
A password will be e-mailed to you.